สาระน่ารู้
ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับฟิล์มกันรอยรถยนต์ ที่คุณอาจจะไม่ทราบ หากคิดจะติดฟิล์มกันรอยรถยนต์ ควรต้องทราบ 11 เรื่องนี้ก่อน เพื่อผลประโยชน์ของตัวท่านเอง
(1) วัตถุประสงค์ในการติดฟิล์มกันรอย
1.1 กันรอยจากสะเก็ดหิน, แมวข่วนรถได้ แต่กันรอยจากการเฉี่ยวชนไม่ได้ ในบางกรณีที่เฉี่ยวชนไม่แรง อาจจะปกป้องเนื้อสีรถยนต์ได้โดยไม่ต้องทำสีใหม่ หากฟิล์มกันรอยฉีกขาดสามารถลอกออกและติดตั้งใหม่เฉพาะชิ้นได้
1.2 ฟิล์มกันรอยแบบใสส่วนมากทำให้สีรถดูเงาขึ้น 2% – 3%
1.3 ปกป้องสีรถยนต์ ไม่ให้หมองจากการจอดตากแดด (แต่อาจจะไปหมอง ที่ฟิล์มกันรอยแทน ลอกฟิล์มออกสีก็เหมือนใหม่)
1.4 ปกป้องสีรถยนต์ได้ดีกว่าการเคลือบแก้ว เพราะหนากว่าถึงประมาณ 20 เท่าจึงปกป้องได้จริง
(2) ชนิดของฟิล์ม Paint Protection Film (PPF) คือชื่อสามัญของฟิล์มกันรอย หลักๆมี 4 ชนิดคือ
2.1 Polyvinyl chloride (PVC) เป็นฟิล์มเกรดต่ำ ราคาถูก ยืดหยุ่น น้อย รักษาตัวเองเมื่อเกิดรอยไม่ได้ อายุการใช้งานสั้น 1-2 ปี ปัจจุบันไม่เป็นที่นิยมแล้ว
2.2 Thermoplastic Polyurethane (TPU) เป็นฟิล์มกันรอยเกรดที่ดีที่สุด ราคาสูงที่สุด ยืดหยุ่นได้มาก ดึงด้วยมือเปล่าไม่ขาด อายุการใช้งานยาวนาน 3 – 10 ปี
2.3 Total Petroleum Hydrocarbon (TPH) เป็นฟิล์มกันรอยที่ออกมาหลัง TPU ทำราคาให้ถูกกว่า ยืดหยุ่นน้อยกว่า ดึงด้วยมือเปล่า อาจจะขาด บางแห่งเรียก TPH ว่า PU อายุการใช้งานสั้น กว่า TPU 3 – 5 ปี
2.4 Polyethylene Terephthalate (PET) เป็นฟิล์มที่ส่วนใหญ่เป็นฟิล์มสี ใช้ความร้อนในการติดตั้ง เข้าขอบเข้ามุมได้ดี งานออกมาสวย อายุการใช้งาน 2 – 5 ปี
(3) ความหนาของฟิล์มกันรอย
หน่วยวัดความหนาคือ Mil film โดย 1 mil film มีค่าเท่ากับ 25.4 Micron ฟิล์ม TPU และ TPH ส่วนใหญ่มีความหนาที่ 6.5 – 10 mil หรือ 165 – 254 Micron โรงงานฟิล์มกันรอยมักจะใช้วัสดุและกาวเกรดดีกว่าในฟิล์มรุ่นที่มีความหนามากกว่าและขายแพงกว่า ยิ่งฟิล์มหนากว่าก็ยิ่งปกป้องสีรถยนต์ได้มากกว่าและอายุการใช้งานก็จะนานกว่าด้วย ดังนั้นปัจจัยเรื่องราคาค่าติดตั้งฟิล์มกันรอยแปรผันโดยตรงกับความหนาของฟิล์มกันรอย
(4) วิธีการตัดชิ้นงานฟิล์มกันรอย ทำได้ 2 แบบ
– ขึ้นมือคือการตัดชิ้นงานฟิล์มคร่าวๆด้วยมือมาติดตั้งกับตัวรถ แล้วใช้คัดเตอร์กรีดขอบฟิล์มให้แนบพอดีกับชิ้นส่วนต่างๆของรถ
– ตัดแบบด้วยระบบคอมพิวเตอร์ คือ การใช้ Software สั่งให้เครื่อง Plotter ตัดชิ้นงานฟิล์มออกมาให้พอดีกับชิ้นส่วนต่างๆของตัวรถ ส่งผลให้ลดการใช้คัดเตอร์ลงไปได้มากถึง 90%
(5) การเตรียมพื้นผิวก่อนการติดตั้งฟิล์มกันรอย
แน่นอนว่าพื้นผิวยิ่งดีงานติดตั้งก็จะยิ่งสวย ก่อนการติดตั้งควรมีการเตรียมพื้นผิวด้วยการขัดสีลบรอยให้เนียนที่สุดก่อน ยิ่งถ้าเคลือบแก้วหรือเซรามิคหรือกราฟีน ไปด้วยเลยจะยิ่งเป็นประโยชน์
(6) การ Set ตัวของฟิล์มกันรอย
ปกติจะอยู่ที่ประมาณ 2 สัปดาห์ฟิล์มจึงจะ Set ตัวได้ 100% ดังนั้นการติดตั้งที่ใช้เวลาประมาณ 2-3 วันนั้น ไม่มีทางที่ฟิล์มจะ Set ตัวได้ 100% การเผยอ การร่นตัว ฟองอากาศ อาจจะเกิดขึ้นได้ใน 2 สัปดาห์หลังจากการติดตั้งฟิล์มกันรอยไม่ใช่เรื่องผิดปกติแต่อย่างใด ควรนำรถเข้าไปตรวจเช็คเก็บงานหลังการติดตั้ง 2 สัปดาห์
(7) การใช้งานรถยนต์หลังการติดตั้งฟิล์มกันรอย
– ไม่ควรล้างอัดฉีด หรือใช้น้ำฉีดแรงๆใส่รถเพราะจะทำให้ขอบฟิล์มเปิดออกมาได้
– ไม่ควรลุยน้ำ ลุยโคลนหรือใช้งานสมบุกสมบันหลังการติดตั้ง 1 เดือน
– ควรเข้ารับการตรวจเช็คพร้อมกับ Treatment ฟิล์มกันรอยทุกๆไม่เกิน 6 เดือน
– สำหรับรถที่จอดตากแดดนานๆตลอดเป็นประจำ ความเข้ารับการตรวจเช็คพร้อมกับ Treatment ฟิล์มกันรอยทุกๆไม่เกิน 2 เดือน
– ไม่ควรใช้สารเคมีใดๆที่ไม่แน่ใจว่าจะทำความเสียหายต่อฟิล์มกันรอยหรือไม่กับรถเช่น แชมพูล้างรถ หรือ Wax ต่างๆ
(8) การเลือกร้านติดตั้งฟิล์มกันรอยรถยนต์
– เป็นร้านที่ดูน่าเชื่อถือ เปิดมานานแล้ว ไม่ปิดหนีง่ายๆเพราะต้องดูแลกันไปอีกนาน
– สะดวกในการนำรถเข้าไปตรวจเชคและ Treatment ฟิล์ม ถ้าให้ดีควรเป็นร้านที่มีบริการ Car Detailing ด้วยเพราะจะได้ใช้บริการด้านอื่นได้ด้วยตอนที่มารับการตรวจเชคฟิล์มเช่น ฟอกเบาะ ฟอกพรม เป็น One stop service
– ควรเลือกร้านที่ใช้เครื่องตัดแบบฟิล์มด้วยระบบคอมพิวเตอร์ เพราะลดความเสี่ยงในการใช้คัดเตอร์ลงบนตัวรถไปได้มาก
– ควรพิสูจน์ว่าฟิล์มกันรอยที่จะใช้ติดตั้งเป็นไปตามที่ตกลงกัน เช่นให้ร้านวัดความหนาให้ดู ลองทดสอบฟิล์มโดยการดึงด้วยมือเปล่าว่าฟิล์มขาดหรือไม่ (ฟิล์ม TPU ส่วนใหญ่ดึงด้วยมือเปล่าไม่ขาด) และหลังการติดตั้งให้ร้านใช้เครื่องวัดความหนาของชั้นฟิล์มให้ดูด้วยก็จะยิ่งเป็นประโยชน์ต่อลูกค้า
(9) จำนวนฟิล์มกันรอยที่ใช้กับรถยนต์ 1 คัน
มาตรฐานของฟิล์มกันรอยมีขนาดหน้ากว้าง 152 เซนติเมตร x 15 เมตร รถยนต์ 1 คันที่ขนาดไม่ใหญ่ไปกว่า Toyota Camry หรือ Honda Accord ใช้ฟิล์มไม่เกิน 1 ม้วน แน่นอนว่ารถยนต์ขนาดใหญ่ที่ใช้ฟิล์มเกิน 1 ม้วน ราคาค่าติดตั้งย่อมสูงกว่ารถยนต์ขนาดที่ใช้ฟิล์มม้วนเดียว
(10) การลอกฟิล์มกันรอย
ควรลอกฟิล์มกันรอยออกก่อนที่จะครบอายุฟิล์ม การลอกฟิล์มเมื่อเกินอายุฟิล์มไปมากๆอาจจะส่งผลเสียต่อสีรถยนต์และมีค่าใช้จ่ายในการลอกที่สูง ฟิล์มกันรอยที่ดีจะไม่ทำลายสีรถหรือทิ้งคราบกาวไว้เป็นปื้นๆบนสีรถ อาจจะมีคราบกาวหลงเหลือได้บ้างตามขอบชิ้นงานแต่นั่นไม่ใช่เรื่องใหญ่ทำความสะอาดได้ไม่ยาก
(11) Options ฟิล์มกันรอยที่ใช้กับชิ้นส่วนอื่นๆของตัวรถยนต์
– ฟิล์มกันสะเก็ดหิน ติดตั้งที่กระจกบานหน้า; ใช้ฟิล์ม TPU ชนิดใสพิเศษ สามารถกันรอยได้ และมี Hydrophobic เคลือบผิวฟิล์มให้น้ำไม่เกาะ แทบจะไม่ต้องเปิดที่ปัดน้ำฝน
– ฟิล์มกันรอยสำหรับหลังคากระจก; ใช้ฟิล์ม TPU ICE ชนิดที่มีค่ากันความร้อนและกัน UV ได้ ค่าแสงส่องผ่านของฟิล์ม TPU ICE เทียบเท่ากับฟิล์มกรองแสง 60%
– ฟิล์มกันรอยรมดำสำหรับโคมไฟหน้า โคมไฟท้าย คิ้วโครเมียม; ใช้ฟิล์ม TPU รมดำที่ทำมาเฉพาะกับงานติดตั้งชิ้นส่วนดังกล่าว